ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Fish tail palm
Fish tail palm
Caryota mitis Lour
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Arecaceae (Palmae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Caryota mitis Lour
 
  ชื่อไทย เต่าร้างแดง, เต่าร้าง
 
  ชื่อท้องถิ่น จึ๊ก(ปะหล่อง), ซึ(ม้ง), ตุ๊ดชุก(ขมุ), เก๊าเขือง(ไทลื้อ), มีเซเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), เก๊าหม้าย, เก๊ามุ่ย, เก๊าเขือง(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น ตระกูลปาล์มแตกกอ ลำต้นขนาด 10-15 ซม.
 
  ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า กว้าง 13-15 ซม. และ ยาว 20-30 ซม. ปลายแหลมคล้ายหางปลา โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบสีเขียวเป็นมัน กาบใบ ยาว 0.5-2 เมตร โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ
 
  ดอก ช่อดอกเชิงลดสีขาวอมเหลือง ออกตามซอกใบห้อยลงยาว 60-80 ซม.
 
  ผล ผลกลุ่มทรงกลม เมื่อสุกสีแดงคล้ำ แต่ละผลมี 1 เมล็ด
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - แกนในของลำต้น แกงกินได้(ปะหล่อง,ขมุ,ไทลื้อ,คนเมือง)
แกนในยอดอ่อน ประกอบอาหารได้เช่น แกง เป็นต้น(ม้ง)
ยอดอ่อน กินสด นำไปต้มหรือแกง(กะเหรี่ยงแดง)
- ลำต้น ใช้ทำไม้ปลายแหลมสำหรับเจาะหลุมปลูกข้าวไร่ มีความทนทานใช้ได้นานหลายปี(ม้ง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง